ในโลกที่ยกย่องวัฒนธรรมการทำงานหนัก การงีบหลับสั้น ๆ จะช่วยให้คุณทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นหรือสุขภาพดีขึ้นได้หรือไม่ งานวิจัยที่ทำขึ้นโดยสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (National Institute of Health หรือ NIH) ระบุว่าการงีบหลับเป็นระยะเวลาสั้น ๆ หรือ Power nap ซึ่งเป็นพักผ่อนแบบสั้น ๆ แต่ตั้งใจนั้นมีประโยชน์อย่างน่าประหลาดใจต่อสมอง อารมณ์ หรือแม้แต่สุขภาพในระยะยาว
จึงเกิดคำถามขึ้นมาว่า การงีบหลับเป็นระยะเวลาสั้น ๆ (Power nap) คืออะไร และสิ่งที่เป็นความสุขง่าย ๆ อย่างหนึ่งในชีวิตเช่นนี้จะทำให้เรามีสุขภาพที่ดีขึ้นได้อย่างไร
มาติดตามอ่านบทความนี้เพื่อค้นหาคำตอบว่า การงีบหลับเป็นระยะเวลาสั้น ๆ อาจกลายมาเป็นเคล็ดลับสุขภาพที่จำเป็นได้อย่างไร
การงีบหลับเป็นระยะเวลาสั้น ๆ คืออะไร
การงีบหลับเป็นระยะเวลาสั้น ๆ คือการงีบที่เวลานอนหลับเพียงไม่นาน โดยทั่วไปจะใช้เวลาประมาณ 10–30 นาที ซึ่งจะแตกต่างจากการงีบหลับที่ใช้เวลานานกว่านี้ที่อาจทำให้คุณรู้สึกมึนงงหลังตื่นนอนได้ การงีบหลับเป็นระยะเวลาสั้น ๆ นี้ออกแบบมาเพื่อทำให้คุณสดชื่น แม้ไม่ได้เข้าสู่ช่วงการนอนหลับลึกซึ่งกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกไม่กระปรี้กระเปร่าหลังตื่นนอน
ถ้าอย่างนั้นก็หมายความว่าคุณจะงีบตอนไหนก็ได้ตามต้องการหรือเปล่า ความจริงแล้วเวลาที่เหมาะสมเป็นสิ่งที่สำคัญมากต่อการงีบหลับเป็นระยะเวลาสั้น ๆ โดยช่วงเวลาเหมาะที่่สุดที่จะงีบคือช่วงบ่ายโมงถึงบ่ายสาม ซึ่งเป็นเวลาที่ระดับพลังงานของคุณจะตกลงตามธรรมชาติ ดังนั้นการงีบหลับเป็นช่วงสั้น ๆ จึงช่วยให้คุณได้ชาร์จพลังและเพิ่มความตื่นตัว
ทำไมการงีบหลับเป็นระยะเวลาสั้น ๆ จึงใช้ได้ผล
มีหลายเหตุผลที่ทำให้การงีบหลับเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ใช้ได้ผล เพราะมันทำให้สมองได้รีเซ็ตตัวเองขณะอยู่ในช่วงการหลับแบบ Non-Rapid Eye Movement (NREM) ในช่วงหลับตื้น ทำให้คุณตื่นขึ้นมาแล้วรู้สึกสดชื่น ไม่เฉื่อยชา
นักวิทยาศาสตร์ด้านการนอนหลับอธิบายว่า ในช่วงการหลับแบบ NREM สมองสามารถเริ่มประมวลผลและรวบรวมข้อมูลที่ได้รับมาตลอดทั้งวันได้ ซึ่งจะช่วยกำจัด “ความวุ่นวาย” ที่เกิดขึ้นในจิตใจ ทำให้มีสมาธิ ซึมซับข้อมูล และตัดสินใจได้ง่ายขึ้นเมื่อคุณกลับไปทำงานต่อ
อีกเหตุผลที่ทำให้การงีบหลับเป็นระยะเวลาสั้น ๆ มีประสิทธิภาพก็คือมันทำงานสอดคล้องกับวงจรเซอร์คาเดียน (circadian rhythm) ของร่างกาย โดยคนส่วนใหญ่มักประสบปัญหาความตื่นตัวลดลงในช่วงบ่ายต้น ๆ ไม่ว่าในคืนที่ผ่านมาพวกเขาจะได้นอนหลับนานแค่ไหนก็ตาม
การได้งีบสักครู่หนึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวจะช่วยฟื้นความตื่นตัวกลับมาได้ในแบบเดียวที่คาเฟอีนทำ แต่ไม่มีผลข้างเคียง เช่น อาการกระสับกระส่าย หรือการนอนแบบไม่ต่อเนื่องในตอนกลางคืน
น้อยแต่ทรงพลัง: ประโยชน์ของการงีบหลับเป็นระยะเวลาสั้น ๆ
มีงานวิจัยจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ที่ชี้ให้เห็นว่าการงีบหลับเป็นระยะเวลาสั้น ๆ มีประโยชน์มากกว่าการสลัดความเหนื่อยความง่วงทิ้งไป โดยส่งผลดีต่อสุขภาวะในหลาย ๆ แง่มุม ทั้งทางกายและทางจิตใจ
ไม่ว่าจะเป็นการช่วยให้คิดวิเคราะห์ได้เฉียบคมมากขึ้น ไปจนถึงการช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายแข็งแรงขึ้น การนอนงีบหลับเป็นเวลาสั้น ๆ แต่ทรงพลังนี้จึงให้ประโยชน์ที่ชัดเจนมากกว่าความรู้สึกสดชื่นที่เกิดขึ้นชั่วคราว
- ช่วยเสริมการทำงานของสมอง
มีงานวิจัยหลายชิ้นที่แสดงให้เห็นว่าการงีบหลับเป็นระยะเวลา 10 นาทีสามารถช่วยให้สมาธิ ความจำ และอารมณ์ดีขึ้นได้แบบทันที อีกทั้งเวลาในการตอบสนองและการตัดสินใจก็มีแนวโน้มที่จะดีขึ้นหลังจากได้พักผ่อนสักครู่ โดยผลที่เกิดขึ้นเหล่านี้สามารถคงอยู่ได้หลายชั่วโมง การงีบหลับเป็นระยะเวลาสั้น ๆ จึงเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นประสิทธิภาพการทำงานในช่วงบ่ายได้
- ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรงขึ้น
Short naps may support immune health by reducing stress that aid in immune function. Regular napping has been associated with enhanced immune response, potentially helping the body fend off illnesses more effectively
- ช่วยเสริมประสิทธิภาพในการทำงานและความคิดสร้างสรรค์
นอกเหนือจากการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานที่สามารถวัดผลได้แล้ว การงีบหลับเป็นระยะเวลาสั้นๆ ยังช่วยปรับอารมณ์ให้ดีขึ้นและลดความเครียดหรือความเหนื่อยล้าได้อีกด้วย สมองที่สดชื่นจะพร้อมสำหรับการคิดอย่างสร้างสรรค์ การแก้ปัญหา และการมีปฏิสัมพันธ์ในเชิงบวกกับผู้อื่นได้มากกว่า
เคล็ดลับเพื่อการงีบหลับที่มีประสิทธิภาพ
การงีบหลับเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ให้ได้ประโยชน์สูงสุดไม่ใช่แค่การหลับตาเท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับเวลา สภาพแวดล้อม รวมถึงต้องทราบว่าสิ่งใดเหมาะสมกับร่างกายของตนเองด้วย
เพียงแค่ปรับเล็ก ๆ น้อย ๆ คุณก็สามารถเปลี่ยนการพักผ่อนแบบสั้น ๆ ให้กลายเป็นการรีเซ็ตเพื่อรับพลังความสดชื่นอย่างแท้จริงได้ และนี่คือเคล็ดลับในการงีบหลับอย่างชาญฉลาดกว่า โดยไม่ต้องใช้เวลานอนนาน
- เลือกเวลางีบให้เหมาะ ควรงีบระหว่างเวลา 13.00 – 15.00 น. เพื่อให้สอดคล้องกับช่วงที่ร่างกายมักมีพลังงานลดลงตามธรรมชาติ
- จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับการพักผ่อน พื้นที่ที่เงียบสงบและมีแสงสลัวจะช่วยให้หลับได้เร็วขึ้น หากจำเป็นอาจใช้ผ้าปิดตาหรือที่อุดหูช่วยได้
- ตั้งนาฬิกาปลุก จำกัดเวลางีบให้อยู่ในช่วง 10–20 นาทีเพื่อหลีกเลี่ยงอาการมึนงงหลังตื่นนอน และใช้นาฬิกาปลุกที่เสียงเบาเพื่อช่วยให้ตื่นขึ้นมาอย่างสดชื่น
- ลองใช้วิธีดื่มกาแฟก่อนงีบ (Caffeine nap) การดื่มกาแฟสักแก้วก่อนงีบฟังดูแปลก ๆ แต่อาจใช้ได้ผล เพราะคาเฟอีนจะเริ่มออกฤทธิ์ประมาณ 20 นาทีหลังดื่ม ดังนั้นคุณอาจตื่นขึ้นมาแบบกระปรี้กระเปร่าเพราะเป็นช่วงที่คาเฟอีนเริ่มออกฤทธิ์พอดี
เมื่อใดที่ควรระมัดระวัง
แม้ว่าการงีบหลับเป็นระยะเวลาสั้น ๆ โดยทั่วไปจะปลอดภัยและเป็นประโยชน์ แต่การงีบมากเกินไปเป็นประจำ โดยเฉพาะการงีบที่เกิน 1 ชั่วโมง อาจเป็นสัญญาณของปัญหาการนอนหลับที่ซ่อนอยู่ หรืออาจรบกวนการนอนหลับในเวลากลางคืนได้
หากคุณพบว่าตนเองจำเป็นต้องงีบยาวทุกวันเพื่อให้ใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ อาจลองปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเกี่ยวกับพฤติกรรมการนอนของคุณ
บทสรุป
แม้การนำการงีบสั้นๆ เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตรประจำวันอาจดูเป็นเรื่องที่เกินความจำเป็น แต่จริง ๆ แล้วอาจเป็นหนึ่งในวิธีที่ง่ายที่สุดในการส่งเสริมสุขภาพ เพิ่มสมาธิ และเติมพลังงาน เพียงแค่งีบหลับสักพักในช่วงเวลาที่เหมาะสมก็อาจเกิดประโยชน์ทั้งต่อสมองและร่างกายได้แล้ว โดยไม่ส่งผลกระทบต่อการนอนตอนกลางคืน
ดังนั้นครั้งหน้าถ้าคุณเริ่มรู้สึกหมดแรงในช่วงบ่าย อาจลองพิจารณางดดื่มกาแฟแก้วที่สาม แล้วหันมางีบหลับเป็นเวลาสั้น ๆ แทน
ตั้งแต่เรื่องสุขอนามัยการนอนไปจนถึงเรื่องการจัดการความเครียด โค้ชผู้มีประสบการณ์ของเรามุ่งมั่นในการดูแลสุขภาพทางจิตให้คุณเท่ากับที่คุณมุ่งมั่น สามารถจองการให้คำปรึกษาแบบส่วนตัวและเฉพาะบุคคลกับโค้ชสุขภาพจิตของ Naluri แล้วเริ่มต้นดูแลสุขภาพจิตของคุณได้เลยตั้งแต่วันนี้