Skip to content
นัลลูรี่< 1 min read

ทักษะการเป็นผู้นำ: ขอบเขตของภาวะผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ

คำถาม: ฉันคิดว่าฉันเป็นผู้นำที่เห็นอกเห็นใจผู้อื่น แต่ความเห็นอกเห็นใจมีขอบเขตไหม

ในบริบทของทักษะในการมีปฏิสัมพันธ์ (soft skills) ความเห็นอกเห็นใจโดยปกติถือว่าเป็นหนึ่งในทักษะที่สำคัญที่สุดที่ผู้นำควรมี ความเห็นอกเห็นใจคือการเข้าใจและรู้สึกร่วมกับผู้อื่น ซึ่งถือว่าเป็นตัวคุ้มกันที่ดีต่อความเครียดในที่ทำงานและบรรยากาศที่ไม่เป็นมิตร อาทิ การให้ฟีดแบ็กด้วยคำพูดแรง ๆ การทำไม่ทันตามวันกำหนดส่งงาน และความขัดแย้ง อีกทั้ง ยังมีส่วนทำให้เกิดประสบการณ์เชิงบวก การคาดหวังที่ดียิ่งขึ้นจากผู้ที่เกี่ยวข้องและมีการประชุมที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ตัวอย่าง

นวัตกรรม – เวลาที่คนระบุว่าผู้นำของพวกเขามีความเห็นอกเห็นใจ มีโอกาสมากขึ้นที่พวกเขาจะระบุว่ามีความคิดเชิงนวัตกรรม โดยคิดเป็น 61% ของพนักงาน เมื่อเทียบกับเพียง 13% ในกลุ่มพนักงานที่มีผู้นำที่เห็นอกเห็นใจน้อยกว่า

ความผูกพัน – 76% ของคนที่ได้รับความเห็นอกเห็นใจจากผู้นำของเขาระบุว่าเขารู้สึกผูกพัน เมื่อเทียบกับพนักงานเพียง 32% ในกลุ่มคนที่ได้รับความเห็นอกเห็นใจน้อยกว่า

การรักษาพนักงาน – 57% ของผู้หญิงผิวขาว และ 62% ของผู้หญิงผิวสีบอกว่าพวกเธอน่าจะไม่คิดเปลี่ยนบริษัทถ้ารู้สึกว่าบริษัทให้ความเคารพและเห็นคุณค่าในชีวิตด้านต่าง ๆ ของตน อย่างไรก็ตาม เวลาที่พวกเธอไม่ได้รู้สึกถึงคุณค่าและความเคารพที่มีต่อชีวิตในระดับนั้น จะมีเพียง 14% และ 30% ของผู้หญิงผิวขาวและผู้หญิงผิวสีตามลำดับที่บอกว่าน่าจะไม่พิจารณาลาออกจากบริษัท

เปิดรับทุกกลุ่มคน – 50% ของคนที่มีผู้นำที่เห็นอกเห็นใจบอกว่าที่ทำงานของพวกเขาเปิดรับทุกกลุ่มคน เมื่อเทียบกับมีเพียง 17% ของกลุ่มคนที่มีผู้นำที่เห็นอกเห็นใจน้อยกว่า

ชีวิตทำงาน-ชีวิตส่วนตัว – เวลาที่คนรู้สึกว่าผู้นำของพวกเขามีความเห็นอกเห็นใจ 86% บอกว่าพวกเขาสามารถทำตามความต้องการของงานและชีวิตได้ โดยสามารถจัดการกับความรับผิดชอบเรื่องส่วนตัว ครอบครัว และงานได้ เปรียบเทียบกับเพียง 60% ของกลุ่มคนที่เห็นว่าผู้นำมีความเห็นอกเห็นใจน้อยกว่า

(ที่มา: ความเห็นอกเห็นใจเป็นทักษะที่สำคัญที่สุดของภาวะการเป็นผู้นำโดยอ้างอิงจากงานวิจัย (Empathy Is The Most Important Leadership Skill According To Research))

แต่การไม่รู้ถึงขอบเขตของความเห็นอกเห็นใจอาจทำให้ผลการทำงานด้อยประสิทธิภาพได้ สถานการณ์เหล่านี้แสดงให้เห็นถึงกรณีมีความเห็นอกเห็นใจมากเกินไปแล้วกลายเป็นอุปสรรคต่อผลลัพธ์เชิงบวกได้:

ความเห็นอกเห็นใจที่มากเกินไปอาจทำให้วิจารณญาณของคุณบิดเบี้ยวไป

การเอาใจเขามาใส่ใจเรา รู้สึกร่วมกับความเครียดและความท้าทายที่เขาเผชิญนั้นมีโอกาสที่คุณจะให้ความสำคัญผู้นั้นมากเกินกว่าผู้อื่น ตัวอย่างที่ดีในเรื่องนี้มีให้เห็นในงานศึกษาของมหาวิทยาลัยเยล (โดยไม่ใช่เหตุการณ์จริง) มีเด็กผู้หญิงคนหนึ่งที่มีโรคร้ายแรงได้รับคิวรอเพื่อรักษาบรรเทาอาการเจ็บปวด น่าเศร้าที่ระยะเวลารอคิวค่อนข้างนาน ผู้เข้าร่วมงานศึกษาที่รู้ถึงสถานการณ์ของเด็กผู้หญิงคนนั้นเมื่อได้รับแจ้งว่ามีโอกาสที่จะขยับคิวเด็กขึ้นมาเพื่อที่เธอจะได้รับการรักษาเร็วขึ้น ส่วนใหญ่ (เกือบ 75%) เห็นด้วยที่จะทำเช่นนั้น

แต่สิ่งที่เห็นได้ชัดน้อยกว่า คือการเลื่อนคิวของเด็กผู้นั้นขึ้นมา เด็กคนอื่น ๆ ที่มีสถานการณ์คล้ายคลึงกันจะต้องถูกเลื่อนคิวลงไป ซึ่งหลาย ๆ คนในนั้นอาจจำเป็นต้องรับการรักษามากยิ่งกว่า นักจิตวิทยาเรียกสิ่งนี้ว่า “ผลกระทบจากเหยื่อที่ระบุตัวตนได้” หมายถึง การรู้จักบุคคลที่ได้รับผลกระทบจะทำให้คุณทำเพื่อประโยชน์ต่อเขาแม้ว่านั่นจะส่งผลกระทบต่อผู้อื่น 

เห็นอกเห็นใจในทุกสถานการณ์จำเป็นต้องมีการแลกเปลี่ยน

ยิ่งความเห็นอกเห็นใจที่ทุ่มไปให้บุคคลคนหนึ่งมีมากเพียงใด การให้สิ่งเดียวกันนั้นกับผู้อื่นก็จะยิ่งลดน้อยลงตาม และนั่นอาจทำให้สถานการณ์แย่ลง ใน การศึกษานี้ นักวิจัยศึกษาการแลกเปลี่ยนที่เกี่ยวกับพฤติกรรมเห็นอกเห็นใจในที่ทำงานและเรื่องส่วนตัว คนที่ระบุถึงพฤติกรรมในที่ทำงาน เช่น การ “ให้เวลารับฟังปัญหาและความกังวลใจของเพื่อนร่วมงาน” และช่วยเหลือ “ผู้อื่นที่มีภาระงานหนัก” จะรู้สึกว่าสร้างสัมพันธภาพกับครอบครัวของตนเองได้น้อยลง พวกเขารู้สึกเหนื่อยใจและต้องแบกรับเรื่องเกี่ยวกับงานเข้ามา

เมื่อพิจารณาร่วมกับประเด็นก่อนหน้า จะเห็นได้อย่างง่ายดายว่าความเห็นอกเห็นใจต่อคนวงในอย่างคนในครอบครัว ในทีม หรือองค์กรของเราสามารถจำกัดความสามารถในการเห็นอกเห็นใจคนภายนอกวงใกล้ชิดของเราได้

ความเห็นอกเห็นใจทำให้เหนื่อยล้า

เช่นเดียวกับการพยายามเรียนรู้ที่ต้องมีการประมวลผลข้อมูลปริมาณมาก ความเห็นอกเห็นใจก็ต้องใช้ทรัพยากรทางจิตมากเช่นกัน และการเห็นอกเห็นใจที่มากเกินไปมีผลทำให้คุณให้ความสำคัญกับความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่นมากกว่าของคุณเอง บางทีก็ไม่แปลกใจเลยสำหรับงานที่ต้องใช้ความเห็นอกเห็นใจทุกวัน อาทิ งานด้านสุขภาพและบริการผู้อื่น บริการลูกค้า หรืองานเพื่อการกุศลส่วนใหญ่นั้นจะมีความเสี่ยงต่อ “ความเหนื่อยล้าจากการเห็นใจผู้อื่น” ซึ่งเป็นอาการเฉียบพลันที่ทำให้ไม่สามารถเห็นอกเห็นใจได้อันเกิดจากความเครียดและภาวะหมดไฟ 

หาจุดสมดุล

ถ้าความเห็นอกเห็นใจมีความสำคัญและการมีมากเกินไปก็เป็นปัญหา ความท้าทายคือการรู้ว่าควรขีดเส้นแบ่งตรงไหน การหาระดับสมดุลเป็นเรื่องสำคัญเพื่อที่จะสามารถได้รับประโยชน์จากความเห็นอกเห็นใจ ในขณะเดียวกันก็สามารถจำกัดข้อเสียที่จะเกิดขึ้นจากการมีมากเกินไปได้ด้วย

ใช้เหตุผลและมีความเห็นใจ

บทบาทในฐานะผู้นำของคุณคือการเข้าใจความลำบากของทีม แต่ต้องไม่มีความรู้สึกร่วม ให้พยายามดูบริบทของข้อร้องเรียนหรือฟีดแบ็กลบเพื่อที่จะเสนอคำแนะนำตามความเป็นจริงและยังคงมีมุมมองที่มีเหตุผล

นัลลูรี่ให้บริการการโค้ชเกี่ยวกับวิธีการจัดการความเครียดและเสริมสร้างทักษะความเป็นผู้นำในที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เรียนรู้เพิ่มเติมโดยติดต่อมาที่ hello@naluri.life

You may also like