Skip to content
นัลลูรี่1 min read

มะเร็งเต้านม: วิธีระบุและจัดการอาการมะเร็งเต้านม

มะเร็ง o สุขภาพผู้หญิง 

มะเร็งเต้านมได้รับความสนใจอยู่บ้างและมีเหตุผลที่ดีเกี่ยวกับเรื่องนี้ มันเป็นมะเร็งที่พบได้มากที่สุดในกลุ่มผู้หญิงทั่วโลกโดยมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในผู้หญิงชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สิ่งที่คุณควรรู้มีดังนี้

มะเร็งเต้านมคืออะไร

มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งชนิดหนึ่งที่เริ่มเกิดขึ้นที่เต้านม มันเริ่มจากการที่มีเซลล์เต้านมกลายพันธุ์มากขึ้นจนควบคุมไม่ได้ มะเร็งเต้านมมีหลายชนิดและชนิดของมะเร็งจะถูกกำหนดโดยดูว่าเซลล์เต้านมใดได้กลายเป็นเซลล์มะเร็ง

เต้านมในผู้หญิงประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลัก ๆ:

  1. โลบูล: ต่อมน้ำนม
  2. ท่อน้ำนม: ท่อที่ลำเลียงน้ำนมไปยังหัวนม
  3. เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน: เนื้อเยื่อเส้นใยและไขมันที่ช่วยพยุงทุกส่วนไว้ด้วยกัน

มะเร็งเต้านมโดยส่วนใหญ่เกิดจากท่อน้ำนมหรือต่อมน้ำนมและสามารถกระจายนอกส่วนเต้านมผ่านทางหลอดเลือดและต่อมน้ำเหลือง เวลาที่มะเร็งเต้านมกระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกาย เราเรียกว่าเป็นมะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจาย หรือเรียกว่ามะเร็งเต้านมระยะที่ 4 โดยมักจะกระจายไปที่ตับ สมอง กระดูก หรือปอด

เป็นเรื่องจริงหรือไม่ที่ว่ามีเพียงผู้หญิงสูงวัยหรือคนที่มีคนในครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็งเต้านมเท่านั้นที่มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านม

จริงอยู่ว่าความชราและพันธุกรรมมีส่วนต่อพัฒนาการของมะเร็งเต้านม แต่คนที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านมโดยส่วนใหญ่ไม่เคยมีประวัติว่าคนในครอบครัวเป็น นั่นแสดงว่ายังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลต่อการเป็นมะเร็งเต้านม แต่แพทย์ยังไม่สามารถอธิบายได้ว่าทำไมมะเร็งเต้านมจึงเกิดขึ้นกับคนคนหนึ่งแต่ไม่ใช่กับอีกคนหนึ่ง

อะไรเป็นสาเหตุทำให้ผู้หญิงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นมะเร็งเต้านมมากขึ้น

การเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ป่วยมะเร็งเต้านมในกลุ่มผู้หญิงชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความเชื่อมโยงกับการใช้ไลฟ์สไตล์และการทานอาหารแบบชาวตะวันตกมากขึ้น โดยรวมถึงสิ่งที่เกิดขึ้นด้านอื่น อาทิ การมีลูกในอายุที่มากขึ้นหรือมีลูกน้อยลง ให้นมบุตรในระยะเวลาที่สั้นลง มีพฤติกรรมเนือยนิ่งมากขึ้น บริโภคไขมันมากขึ้นและทานอาหารดั้งเดิมน้อยลงไม่ว่าจะเป็นข้าว ผักสด และถั่วเหลือง (มีความเชื่อมโยงกับการลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งเต้านม) ตัวอย่างเช่น ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งมีอัตราการเกิดมะเร็งเต้านมสูงสุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (65 ต่อ 100,000 คน)

หมายความว่าการมีไลฟ์สไตล์ที่ดีต่อสุขภาพและการเลือกทานอาหารสามารถตัดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมได้ใช่หรือไม่

ไม่นะ มันไม่ได้ตัดออกไปเลย แต่การมีไลฟ์สไตล์ที่ดีต่อสุขภาพและทานอาหารที่เป็นประโยชน์สามารถลดความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมได้

เนื่องจากความเสี่ยงไม่สามารถถูกกำจัดไปโดยสิ้นเชิงได้ แต่เราสามารถมันลดได้ สิ่งสำคัญจึงอยู่ที่การตรวจคัดกรอง/แมมโมแกรม ตรวจเต้านมตัวเอง และสนใจสังเกตดูการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับเต้านมซึ่งถือเป็นการตรวจหาความผิดปกติแต่เนิ่น ๆ

ความเปลี่ยนแปลงที่ต้องสังเกตดูคือ:

  • ก้อนหรือเนื้อเยื่อที่หนาขึ้นที่ทำให้รู้สึกแตกต่างจากเดิม
  • เจ็บและตึงเต้านม
  • ผิวบริเวณเต้านมเป็นสีแดงและเป็นหลุม
  • เต้านมทั้งหมดหรือบางส่วนมีอาการบวม
  • มีสารบางอย่างหลั่งออกจากหัวนม
  • ผิวล่อน ลอก หรือเป็นขุย
  • หัวนมที่บุ๋มเข้าไป
  • มีความเปลี่ยนแปลงในรูปลักษณ์
  • ด้านใต้แขนมีอาการบวม

แนะนำให้ผู้หญิงอายุมากกว่า 40 ปีทำการตรวจแมมโมแกรมประจำปี โดยเฉพาะถ้ามีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นโรค

การสวมใส่เสื้อชั้นในและการใช้ยาระงับกลิ่นกายเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมหรือไม่

มีทฤษฎีระบุว่าเสื้อชั้นในเสริมโครงเหล็กและยาระงับกลิ่นกายมีผลต่อการไหลเวียนของน้ำเหลืองและทำให้เกิดการสะสมของสารพิษในต่อมน้ำเหลืองได้ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีหลักฐานสนับสนุนข้อสรุปที่ว่าเสื้อชั้นในเสริมโครงเหล็กจะไปจำกัดการกำจัดสารพิษออกจากร่างกายโดยผ่านระบบน้ำเหลือง ในทางตรงกันข้าม การศึกษาเกี่ยวกับยาระงับกลิ่นกายบ่งชี้ว่าสามารถทำให้เกิดการสะสมของอะลูมิเนียมในเนื้อเยื่อของเต้านมมากขึ้นแต่มันไม่ได้มีความสัมพันธ์ทางตรงต่อการเป็นสาเหตุแน่ชัดของมะเร็งเต้านม

ปัจจัยความเสี่ยงที่เพิ่มโอกาสการเป็นมะเร็งเต้านมมีดังนี้:

  • การกลายพันธุ์ของยีนแต่กำเนิด

การกลายพันธุ์สำหรับยีน BRCA1 และ BRCA2 ได้มาจากพันธุกรรม การกลายพันธุ์เหล่านี้ไปเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมและรังไข่

  • ประวัติการสืบพันธุ์

ระยะเวลาการมีรอบเดือน หมายถึง การหมดประจำเดือนเร็วหรือช้าเป็นตัวเพิ่มช่วงเวลาการผลิตฮอร์โมนในรังไข่ ( เอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนที่สังเคราะห์ภายใน) เพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านม การใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมน การตั้งครรภ์แรกในวัยมากกว่า 30 ปี การไม่ได้ให้นมบุตร และไม่เคยตั้งครรภ์จบครบระยะเวลาเป็นปัจจัยที่เพิ่มโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมด้วยเช่นกัน

  • เนื้อเต้านมที่หนาแน่น

เนื้อเต้านมที่หนาแน่นมีเนื้อเยื่อเกี่ยวพันมากกว่าเนื้อเยื่อไขมันทำให้ยากในการมองเห็นเนื้องอกเวลาทำแมมโมแกรม

  • ประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านมหรือโรคทางเต้านมอื่น ๆ

ผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านมมักจะกลับมาเป็นมะเร็งเต้านมอีก โรคทางเต้านมที่ไม่ใช่มะเร็ง อาทิ เซลล์เยื่อบุผิวท่อน้ำนมหรือต่อมน้ำนมแบ่งตัวเพิ่มจำนวนมากผิดปกติ หรือมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในแหล่งกำเนิดมักจะสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งที่สูงขึ้น

  • ประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งรังไข่

ความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมในผู้หญิงจะมีสูงขึ้นถ้าญาติสายตรงลำดับหนึ่งหรือคนในครอบครัวหลายคนของฝ่ายพ่อหรือแม่เคยเป็นมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งรังไข่

  • ความไม่เคลื่อนไหวร่างกาย

ผู้หญิงที่ไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกายมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมสูงขึ้น

  • มีน้ำหนักตัวเกินหรือเป็นโรคอ้วนหลังช่วงวัยหมดประจำเดือน

ผู้หญิงสูงวัยที่มีน้ำหนักตัวเกินหรือเป็นโรคอ้วนมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมสูงกว่าคนที่มีน้ำหนักตัวปกติ

  • ทานยาฮอร์โมน

การบำบัดฮอร์โมนทดแทนบางรูปแบบที่ทานในช่วงวัยหมดประจำเดือนซึ่งรวมถึงชนิดเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมได้

  • ดื่มแอลกอฮอล์

การศึกษาระบุว่าผู้หญิงมีความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้นตามปริมาณแอลกอฮอล์ที่ดื่ม

ทำไมการตรวจหาความผิดปกติได้เร็วจึงสำคัญ

การตรวจหาความผิดปกติได้เร็วทำให้มีโอกาสในการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดและมีทางเลือกทางการรักษาต่าง ๆ ซึ่งเท่ากับเป็นการเพิ่มโอกาสของการรอดและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย

การตรวจเต้านมด้วยตัวเองเป็นวิธีการตรวจหาความผิดปกติแต่เนิ่น ๆ ที่สุดที่มีการสอนให้กับผู้หญิงทุกคนตั้งแต่ช่วงเข้าสู่วัยรุ่น แม้จะยังไม่มีหลักฐานชัดเจนที่บอกว่าการตรวจสอบเช่นนี้ทุกเดือนจะช่วยลดอัตราการเสียชีวิต แต่มันช่วยให้ผู้หญิงตระหนักมากขึ้นถึงรูปลักษณ์และความรู้สึกที่เต้านมควรเป็นโดยปกติ เพื่อสามารถตรวจพบการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติได้ง่ายขึ้นและนำไปสู่การวินิจฉัย

แมมโมแกรมมีความปลอดภัยหรือไม่

การตรวจอาจทำให้เจ็บโดยเฉพาะเวลาที่เนื้อเยื่อเต้านมถูกกดระหว่างที่ทำแมมโมแกรม อย่างไรก็ตาม แมมโมแกรมหรือการเอ็กซเรย์เต้านมไม่ได้ทำให้มีความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมมากขึ้นหรือทำให้มีการแพร่กระจาย แม้จะมีปริมาณรังสีเล็กน้อยจากการทำแมมโมแกรม ความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายจากการสัมผัสรังสีนี้มีต่ำมาก แมมโมแกรมยังคงเป็นมาตรฐานที่ดีที่สุดในการตรวจหามะเร็งเต้านมแต่เนิ่น ๆ

วิธีการตรวจหาความผิดปกติอื่น ๆ ได้แก่:

การอัลตร้าซาวด์เต้านม

การอัลตร้าซาวด์เต้านมใช้คลื่นเสียงเพื่อสร้างภาพภายในเต้านมออกทางจอคอมพิวเตอร์ มันสามารถแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงเต้านมบางอย่าง เช่น ถุงน้ำ ซึ่งอาจมองไม่เห็นในเครื่องแมมโมแกรม

การทำ MRI เต้านม

การทำ MRI เต้านม (การตรวจด้วยเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า) ใช้คลื่นวิทยุและสนามแม่เหล็กในการสร้างภาพภายในเต้านมที่มีรายละเอียด

การตรวจชิ้นเนื้อเพื่อการวิจัย

การตรวจชิ้นเนื้อเพื่อการวิจัยเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการวินิจฉัยมะเร็งเต้านม เป็นการเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อและส่งไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อการวิเคราะห์ จากนั้น ห้องปฏิบัติการจะระบุว่าเป็นเซลล์มะเร็งหรือไม่ บอกถึงชนิดเซลล์ที่เกี่ยวข้อง ความรุนแรงของมะเร็ง และระบุว่าเซลล์มะเร็งมีตัวรับฮอร์โมนที่อาจมีผลต่อทางเลือกการรักษาหรือไม่

มะเร็งเต้านมมีกี่ชนิดและมีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง

มะเร็งเต้านมมีหลายชนิดและแต่ละชนิดถูกกำหนดโดยเซลล์เต้านมเฉพาะจุดที่มีความผิดปกติ ชนิดของการรักษาที่ผู้ป่วยจะได้รับจะขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์มะเร็งและพื้นที่การแพร่กระจาย

มะเร็งเต้านมแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก:

  • แพร่กระจาย – มีการแพร่กระจายจากท่อน้ำนมหรือต่อมน้ำนมไปยังส่วนอื่นของเต้านม
  • อยู่ในจุดกำเนิด (ไม่แพร่กระจาย) - ไม่มีการแพร่กระจายจากเนื้อเยื่อที่เป็นจุดเริ่มต้น

มะเร็งเต้านม 2 กลุ่มดังกล่าวบ่งบอกถึงมะเร็งเต้านมชนิดที่พบได้บ่อยดังนี้:

  • มะเร็งที่เกิดในท่อน้ำนมและไม่แพร่กระจาย / Ductal carcinoma in situ (DCIS) – มะเร็งชนิดไม่ลุกลาม โดยเกิดขึ้นในส่วนท่อน้ำนมเท่านั้น
  • มะเร็งที่เกิดในต่อมน้ำนมและไม่แพร่กระจาย / Lobular carcinoma in situ (LCIS) – มะเร็งที่เริ่มจากต่อมผลิตน้ำนมที่ยังไม่มีการแพร่ไปยังเนื้อเยื่อใกล้เคียง
  • มะเร็งเต้านมชนิดลุกลามออกนอกท่อน้ำนม / Invasive ductal carcinoma (IDC) - เป็นมะเร็งเต้านมที่พบได้บ่อยที่สุด โดยเริ่มจากท่อน้ำนมและแพร่ไปยังเนื้อเยื่อใกล้เคียงซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสในการแพร่สู่อวัยวะใกล้เคียงด้วยเช่นกัน
  • มะเร็งต่อมน้ำนมชนิดลุกลาม / Invasive lobular carcinoma (ILC) – มะเร็งชนิดนี้เริ่มจากต่อมผลิตน้ำนมแต่ได้มีการลุกลามไปยังเนื้อเยื่อใกล้เคียง
  • มะเร็งเต้านมชนิดที่ไม่มีตัวตอบรับกับฮอร์โมนหรือยีนส์ HER2 / Triple-negative breast cancer (TNBC) - มะเร็งเต้านมที่มีความรุนแรงและลุกลามซึ่งรักษาได้ยาก เซลล์มะเร็งไม่มีตัวรับเอสโตรเจนหรือโปรเจสเตอโรน หรือไม่สามารถผลิตโปรตีนชนิด HER2 (โปรตีนเสริมสร้างความเติบโตนอกเซลล์เต้านมทั้งหมด) เซลล์มะเร็งจะให้ผลเป็น “ลบ” สำหรับการทดสอบทั้ง 3 ตัว
  • มะเร็งเต้านมอักเสบ / Inflammatory breast cancer (IBC) – มะเร็งเต้านมที่ไม่ได้พบบ่อยและมีลักษณะไม่เหมือนมะเร็งเต้านมปกติ แทนที่จะมีก้อนจะมีอาการเป็นผื่นอักเสบ มันทำให้เต้านมบวมและบุ๋มหรือผิวบริเวณเต้านมหนาตัวจนดูหรือรู้สึกเหมือนผิวเปลือกส้ม มันยังมีความรุนแรงมากกว่าด้วยโดยโตและแพร่อย่างรวดเร็วกว่ามะเร็งเต้านมทั่วไปอื่น ๆ
  • มะเร็งที่หัวนม / Paget disease of the nipple – มะเร็งเต้านมที่เริ่มจากท่อน้ำนมตรงหัวนมที่มีผลต่อผิวและลานหัวนม
  • เนื้องอกเต้านมฟีลโลด์ / Phyllodes tumour – มะเร็งเต้านมที่พบไม่ได้บ่อยซึ่งโตในเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน
  • มะเร็งแองจิโอซาร์โคมา / Angiosarcoma - มะเร็งที่โตในหลอดเลือดหรือท่อน้ำเหลืองในเต้านม

แผนการรักษาสำหรับผู้ป่วยแต่ละรายจะพิจารณาตามความจำเป็นและอาจรวมถึงการรักษาชนิดใดชนิดหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งชนิดก็ได้ การรักษาที่ใช้บ่อยได้แก่:

  • การศัลยกรรม – การผ่าตัดโดยแพทย์ทำการตัดเนื้อเยื่อมะเร็งออก
  • เคมีบำบัด – การใช้ยาชนิดพิเศษลดจำนวนหรือกำจัดเซลล์มะเร็ง ยาอาจเป็นรูปแบบเม็ดหรือยาฉีดเข้าเส้นเลือด หรือในบางครั้งก็เป็นทั้งสองแบบ
  • ฮอร์โมนบำบัด – ป้องกันเซลล์มะเร็งไม่ให้ได้รับฮอร์โมนที่ทำให้มันโตได้
  • ชีวบำบัด – ดูแลระบบภูมิคุ้มกันร่างกายของคุณเพื่อช่วยต่อสู้เซลล์มะเร็งหรือเพื่อควบคุมผลข้างเคียงจากการรักษามะเร็งอื่น ๆ
  • รังสีรักษา - การใช้รังสีพลังงานสูง (คล้ายกับรังสีเอ็กซ์) เพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง

ผู้หญิงในทุกกลุ่มอายุจำเป็นต้องใส่ใจเต้านมตนเอง ทำการตรวจเต้านมด้วยตัวเอง รายงานความเปลี่ยนแปลงที่มีให้แพทย์ทราบและขอให้ตรวจเพื่อยืนยันว่าไม่ใช่มะเร็งเต้านมกรณีที่มีอาการที่สร้างความกังวลใจ แม้ว่ามะเร็งเต้านมมักจะเกิดขึ้นกับผู้หญิงโดยหลัก แต่ผู้ชายเองก็สามารถเป็นได้เช่นกัน ข้อเท็จจริงคือ ประมาณ 1% ของการวินิจฉัยพบว่ามะเร็งเต้านมมาจากผู้ชาย

เป็นเรื่องสำคัญที่จะเข้าใจว่ามะเร็งเต้านมอาจเป็นซ้ำและสามารถมีผลข้างเคียงได้แม้ว่าได้รับการรักษาสำเร็จมาแล้ว ความเจ็บปวดและความตึง เหนื่อยล้า ผิวที่เปลี่ยนไป รู้สึกเสียวและชาที่มือและเท้า อาการหลังวัยหมดประจำเดือน รวมถึงผลข้างเคียงทางจิตและอารมณ์ อาทิ ความวิตกกังวล ความกลัวการเกิดซ้ำ และการเปลี่ยนแปลงด้านความสัมพันธ์ล้วนมีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย

มะเร็ง o มะเร็งเต้านม

cancerbreast cancer

 

บทความนี้ถูกนำเสนอโดยนักโค้ชสุขภาพจิตของ Naluri แพลตฟอร์ม Naluri เสริมให้คุณพัฒนานิสัยการดูแลสุขภาพที่ดี เรียบเรียงผลลัพธ์สุขภาพที่มีความหมาย และสร้างความเป็นสุขและสุขใจผ่านการโค้ชที่ประเมินและกำหนดเป้าหมายให้บุคคล โดยมีการเรียนรู้ที่ตั้งโครงสร้าง บทเรียนที่นำตัวเอง และเครื่องมือและอุปกรณ์ทางสุขภาพที่ช่วยให้คุณมีสุขภาพที่ดีขึ้นและมีความสุขมากขึ้น ดาวน์โหลดแอป Naluri ได้ทันทีหรือติดต่อ  เพื่อข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้บริการโค้ชและการรักษาดิจิตออนไลน์เพื่อเป็นคนที่มีความสุขและมีสุขภาพที่ดีขึ้น

You may also like